วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


กิจกรรมที่







พระราชบัญญัติ act;Act of Parliamen

คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้สำหรับกระบวนการในการตราพระราชบัญญัตินั้น มีสาระสำคัญและขั้นตอนดังต่อไปนี้ร่างพระราชบัญญัติ มี 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินการเสนอร่างพระราชบัญญัติ กระทำได้ 3 ทางคือ(1) โดยคณะรัฐมนตรี(2) โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดนั้นมีมติให้เสนอให้ และต้องมีสมาชิดสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง แต่ถ้าเป็นร่าง พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี(3) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

นิยามของคำว่าสิทธิ
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น สิทธิที่มีอยู่นี้จะปรากฏในหลาย ๆ ด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ ของตนเอง ที่เรียกว่า สิทธิตามกฎหมายแพ่ง หรือในการเลือกตั้งบุคคลทุกคนก็มีสิทธิในการ เลือกตั้ง ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิในร่างกาย สิทธิในการประกอบกิจการ ต่าง ๆ ตามที่ตนเองต้องการและสิทธิที่สำคัญที่สุดของบุคคลก็คือ สิทธิตามกฎหมาย แหล่งข้อมูล http://blog.eduzones.com/winny/3658

กฎหมายแพ่ง
1. กฎหมายแพ่ง     คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้
1.1 การหมั้น  เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง  แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน   ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น  เช่น  ของหมั้นจะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว  ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย  ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น
เกณฑ์การหมั้นตามกฎหมายนั้น  คือ  ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17  ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน  เป็นต้น
การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ  เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้  ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง  เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า  17  ปีบริบูรณ์  ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น  การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตามเ
1.2  การรับรองบุตร  เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง  แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย  กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร  ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน  แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะเบียบรับรองบุตรอีก   การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา
1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดก
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย   และทำพินัยกรรมไว้  มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม  หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส
กองมรดก  ได้แก่  ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย  รใมทั้งสิทธิและหน้าที่   ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน  เป็นต้นว่าหนี้สิน  เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ  หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน  การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี  คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่  ทายาท  วัด  แผ่นดิน  บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลยทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท
1. ทายาทโดยธรรม  เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย  ได้แก่  ญาติ  และคู่สมรส  และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า  ตายาย
1.6 ลุง  ป้า  น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม  พินัยกรรม ได้แก่  คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว  เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย  จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย  ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่  ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก:
ผศ.วิชัย ภู่โยธิน และคณะ.หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์


ผู้เสียหายในคดีอาญา 
มีคำนิยามศัพท์อยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ซึ่งได้แก่
               1) ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความอาญาผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณาประกอบดังนี้
               1.1 ต้องมีการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น
               1.2 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งโดยตรง
               1.3 ต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คือ ต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด หรือเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
               2) ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามข้อ 1) ซึ่งบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4 , 5 และ 6 ซึ่งได้แก่
               2.1 สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ เมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา (มาตรา 4)
               2.2 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล (มาตรา 5(1))
               2.3 ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ (มาตรา 5 (2))
               2.4 ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น (มาตรา 5(3))
               2.5 ผู้แทนเฉพาะคดีฟ้องแทนผู้หย่อนความสามารถ (ผู้เยาว์ คนวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ) ในกรณีที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลจะทำการแทนได้หรือเพราะมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น (มาตรา 6)
               การเป็นผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นี้ มีความสำคัญเพราะจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจร้องทุกข์ (ในคดีความผิดต่อส่วนตัว) ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ หากการร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมส่งผลให้การสอบสวนไม่ชอบและทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไปด้วย ส่วนในความผิดอาญาแผ่นดินนั้น แม้กฎหมายจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้กล่าวโทษก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย แต่ความเป็นผู้เสียหายก็ยังคงมีความสำคัญต่อการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการอยู่ดี ซึ่งในความผิดอาญาแผ่นดินบางฐาน รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย
ปลายมีนา  บัววัฒน์ (ทนายความ)
www.fpmconsultant.com
e-mail : sumrej@fpmconsultant.com

นิยามของคำว่ากฎหมาย    
ความหมายของกฎหมาย  มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระบิดาแห่งกฎหมายไทย  ทรงอธิบายว่า  "กฎหมาย  คือ  คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย  เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"
ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์  อธิบายว่า  "กฎหมาย  ได้แก่  กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ  ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"
 จอห์น  ออสติน  ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษอธิบายว่า  "กฏหมาย  คือ  คำสั่ง  คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว  ผู้นั้นต้องรับโทษ"
ตามพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย  ฉบับราชบัญฑิตยสถาน  อธิบายความหมายของกฎหมาย ว่า  "กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ให้การบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม  หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล"
จากคำนิยามของท่านผู้รู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น  อาจสรุปได้ว่า  กฎหมาย  คือ  บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล  อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ  และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม  แหล่งข้อมูล http://rirs3.royin.go.th

การตีความกฎหมายพิเศษ (กฎหมาอาญา)
1.    ความขัดแย้ง หมายถึง สภาวะที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใฝ่หาความต้องการและผลประโยชน์ที่ต่างกัน จนเกิดการพิพาทบาดหมางกันของสมาชิกในชุมชน ในลักษะความผิดที่เป็นคดีแพ่ง คือคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง และความผิดอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความกันได้ เช่น ทะเลาะวิวาท ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น ภายในขอบเขตพื้นที่หมู่บ้านที่ผู้นำนั้นปกครองอยู่เท่านั้น
2.    คดีแพ่ง หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง มีทั้งคดีที่มีข้อขัดแย้งและไม่มีข้อขัดแย้ง
3.    คดีแพ่งที่มีข้อขัดแย้ง หมายถึง คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน เงินทอง ได้แก่คดีบังคับตามสัญญาเงินกู้ สัญญายืม สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขาย ขายฝาก จ้างแรงงาน จ้างทำของ ค้ำประกัน รับขนของ แลกเปลี่ยนให้ จำนอง จำนำ ฝากทรัพย์ ตั๋วเงิน กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ ครอบครัวฟ้องหย่า เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร คดีละเมิด
4.    คดีแพ่งที่ไม่มีข้อขัดแย้ง หมายถึง คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ เป็นต้น
5.    คดีอันยอมความได้ หมายถึง คดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้ยอมความกันได้
6.    ชุมชน ความหมายในทางสังคมวิทยาชุมชน หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอาณาเขตทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่งอันแน่นอน มีผลประโยชน์ส่วนใหญ่ร่วมกันซึ่งเห็นได้จากความประพฤติ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและผู้คนเหล่านั้นมีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีการติดต่อซึ่งกันและกันรวมถึงยังเป็นศูนย์กลางบริการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมาชิกในชุมชนนั้นได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นลักษณะชุมชนจึงสอดคล้องกับการบริหารการปกครองของไทย นั่นคือเป็นชุมชนหมู่บ้านที่ประกอบด้วยบ้านหลาย ๆ บ้านในท้องที่เดียวกัน มีศูนย์กลางของกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านโดยมีผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ คือผู้ใหญ่บ้าน สำหรับการศึกษาวิจัยนี้จึงจำกัดความหมายคำว่า ชุมชน หมายถึงหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ซึ่งถือว่ามีองค์ประกอบตรงกับความหมายคำว่าชุมชน อย่างชัดเจน
7.    ผลการจัดการความขัดแย้ง หมายถึง การบรรลุหรือไม่บรรลุข้อตกลงที่จะยุติความขัดแย้งของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
8.    สัญญาประนีประนอมยอมความ หมายถึง ข้อตกลงของคู่กรณีที่สมัครใจยุติความขัดแย้ง โดยทำเป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อคู่กรณีหลังจากบรรลุการเจรจา ในการจัดการความขัดแย้งแล้ว
9.    บันทึก หมายถึง หนังสือใดที่ผู้นำชุมได้ทำขึ้นตามข้อตกลงหรือเจรจาของคู่กรณีในการจัดการความขัดแย้ง
10.  คู่กรณี หมายถึง บุคคลที่เข้าสู่กระบวนการในการจัดการความขัดแย้งโดย ผู้นำชุมชน
11.  สถานที่ในการจัดการความขัดแย้ง หมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการเจรจาของคู่กรณี ซึ่งอาจเป็นที่ทำการกำนัน, ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน, องค์การบริหารส่วนตำบล, ศาลากลางหมู่บ้าน, ศาลาวัด, สถานีตำรวจ
12.  การยอมรับ หมายถึง การแสดงออกถึงความเชื่อมั่น เชื่อถือ ของประชาชนต่อผู้นำชุมชน หรือของคู่กรณีต่อผู้นำชุมชน ในการจัดการความขัดแย้ง
13.  ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญาและคดีแพ่ง

14.  พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
15.  พนักงานสอบสวน หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
16.  ผู้นำ หมายถึง ผู้นำชุมชนระดับหมู่บ้านทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ
17.  ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย จากทางราชการ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
18.  ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ได้รับการยกย่อง ยอมรับ เคารพนับถือ ไว้วางใจ ให้เป็นผู้นำ แต่มิได้มีตำแหน่งหน้าที่ในทางราชการ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มอาชีพก้าวหน้า ผู้นำกลุ่มอาวุโส ผู้นำทางศาสนา หมอพื้นบ้าน ผู้นำกลุ่มเยาวชน ผู้นำทางการศึกษา คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) และคณะกรรมการพัฒนาเด็กเล็ก
แหล่งข้อมูล http://e-book.ram.edu

กฎหมายอาญา
คือ กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกำหนดบทลงโทษมาบัญญัติขึ้นด้วยมีจุดประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการแก้แค้นกันเองหรือปล่อยให้ผู้กระทำผิดแล้วไม่มีการลงโทษจะทำให้มีการกระทำความผิดทางอาญามากขึ้นสังคมก็จะขาด ความสงบสุข
ที่มา   www.choosaklawfirm.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น